สายพันธุ์นกระทา


สายพันธุ์ของนกกระทา

โดยมากการเลี้ยงนกกระทาเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์ทดลองหรือเพื่อบริโภค พันธุ์นกกระทาที่สำคัญและที่รู้จักกันมากได้แก่ 
- นกกระทาเวอร์จิเนีย


           - นกกระทาแคลิฟอร์เสีย


             - นกกระทายุโรป




                  -นกกระทาญี่ปุ่น


วิธีการเลี้ยงนกกระทา
การคัดเลือกพ่อ แม่พันธุ์ สำหรับแม่พันธุ์ ควรเลือกที่ให้ไข่ดก โดยดูได้จากการนำพ่อ-แม่พันธุ์ มาเลี้ยงรวมในกรงเดียวกัน ขนาด 40×40 เซนติเมตร สัดส่วนแม่พันธุ์ 5 ตัว พ่อพันธุ์ 2 ตัว ซึ่งแม่พันธุ์ที่ดีจะต้องให้ไข่ทุกวัน
การฟักไข่ นำไข่ที่ได้ไปฟักในตู้ฟักไข่ไฟฟ้า อุณหภูมิ 36 – 37 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 14 – 17 วัน จะได้เป็นตัวเล็ก ๆ ซึ่งต้องนำไปเลี้ยงในกรงอนุบาล
การเลี้ยงในกรงอนุบาล หลังจากฟักเป็นตัวต้องนำไปเลี้ยงในกรงอนุบาลที่ใช้ตาข่ายทำ มีขนาด 2 x 2 เมตร ต่อการเลี้ยง 300 – 400 ตัว ใช้ไฟขนาด 100 W (วัตต์) กกให้ความร้อนอีกประมาณ 15 -20 วัน ให้อาหารนกและน้ำเล็กน้อย
นำไปเลี้ยงในกรงนกรุ่นอีก 20 วัน โดยเลี้ยงให้อาหารไก่ที่นำมาบดละเอียด เพื่อให้แข็งแรงแล้วจึงคัดแยกเพศ หากเป็นเพศเมียก็จะนำไปเลี้ยงเป็นนกไข่ ถ้าเป็นเพศผู้จะขายเลี้ยงเป็นนกเนื้อ
ลักษณะของโรงเรือนนกกระทา
กรงนกกระทามีหลายลักษณะ ซึ่งใช้แตกต่างกันไปตามอายุของนก  ดังนี้
(1) กรงกกลูกนก ขนาดของกรงกกมีหลายขนาด เช่น
ขนาด 100 ซม. x 200 ซม. x 50 ซม. (รวมขากรง) ซ้อนกัน 4 ชั้น รวมความสูงเท่ากับ 200 ซม. 1 กรง
กั้นแบ่งเป็น 2 ห้อง จุนกได้ห้องละ 700 ตัว
ขนาด 150 ซม. x 200 ซม. X 100 ซม. จุนกได้ 770 ตัว พื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1/4 x 1/4 นิ้ว
ด้านข้างเป็นลวดตาข่าย ขนาด 3/4นิ้ว


อาหารของนกกระทา
อาหารนกกระทา โดยปกติจะเหมือนกับที่ใช้ในอาหารไก่ แต่ขนาดของเม็ดอาหารจะต้องละเอียดกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นก็ให้อาหารเม็ดบี้แตกสำหรับไก่ลูกไก่กระทงได้ นกกระทาต้องการอาหารที่มีโปรตีนและโภชนะชนิดอื่นสูงกว่าไก่กระทง ทั้งนี้เนื่องจากนกกระทามีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าไก่กระทง ค่าความต้องการโภชนะสำหรับนกกระทา
วิธีการดูแลโรคติดต่อของนกกระทา
การป้องกันโรคเป็นวิธีที่ดีกว่าการรักษาวิธีป้องกันโรคต่างๆ ของนกกระทานี้ก็เหมือนกับของสัตวืปีกอื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยหลักการและวิธีปฎิบัติต่างๆ ทั้งการระวังไม่ใช้เชื้อโรคแพร่เข้ามา และการรักษาสุขภาพ อนามัยตลอดเวลา วิธีการเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการสกัดการแพร่ของเชื้อโรค ด้วยเหตุนี้การมีฝูงนกที่ไม่มีโรคติดต่อ จึงมีความ สำคัญเป็นอันดับแรก ไม่ควรลืมว่าทางแพร่ของโรคมีได้หลายางทั้งอาจเห็นได้และที่แอบแฝงมา
ช่องทางการจัดจำหน่วยนกกระทา
ช่วงประมาณ ปี 2536 - 2538 ไข่นกกระทาขายดีมาก ราคาก็ดีด้วยจากราคาขายส่ง ฟองละ 30 สตางค์ เพิ่มขึ้นเป็น 50 สตางค์ ส่วนนกเนื้อตัวละ 7 บาท เพิ่มเป็น 12 - 13 บาท ทำให้มีการเลี้ยงนกกระทากันมากขึ้นรายได้จากการขายไข่นกวันละ 1,000 ฟองจะได้ประมาณ 600 - 700 บาท โดยต้นทุนที่เราใช้อาหารต่อตัวประมาณ 6 บาท และใช้เวลาเลี้ยงไม่นานก็สามารถให้ผลผลิตได้แล้ว นอกจากนี้เมื่อนกหมดอายุให้ไข่ก็สามารถขายเป็นนกเนื้อสร้างรายได้ให้อย่างงดงามการดูแลก็ใช้เวลาเพียงวันละ 4 - 5 ชั่วโมงเท่านั้น โดยทำเป็นช่วง ๆ เช่นให้อาหาร ทำความสะอาด เก็บไข่และบรรจุถุง การนำไปจำหน่ายที่ตลาด ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างสบาย แต่จะลำบากในลักษณะที่ทิ้งงานไปไหนทั้งวันไม่ได้ ต้องหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไป
          นอกจากขายไข่นกและเนื้อนกแล้ว ไข่ที่ฟักไม่ออกที่ต้องสูญเสียไป 20% ในการฟักแต่ละครั้ง สามารถใช้เลี้ยงตะพาบน้ำได้และอาหารที่เลี้ยงนกก็สามารถนำมาเลี้ยงเป็ดได้ และรายได้อีกอย่างหนึ่งในการเลี้ยงนกกระทาคือ ขี้นกที่ต้องเก็บกวาดทำความสะอาดรางนกอยู่แล้วเป็นประจำ 3 วันต่อครั้ง โดยต้องทิ้งไว้ให้แห้งก่อนจึงจะใส่ถุงขาย ถุงละ 25 กิโลกรัม ราคา 30 บาท ครั้งหนึ่งอาจเก็บได้ 130 - 150 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้เสริมเดือนละ 1,500 - 2,000 บาท โดยมากนิยมนำไปใส่ต้นไม้ในสวน เช่น มังคุด 

           
                                                        ที่มา   http://knowledge.kasetbay.com/83-

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้